ป.1 รุมตื้บเด็กอนุบาล สะท้อนความรุนแรงในสังคมไทย
MThainews: ตกเป็นจำเลยทางสังคมทันทีเมื่อ ข่าวเด็กรุ่นพี่ ชั้นป.1 โรงเรียนแห่งหนึ่ง จ.สุพรรณบุรี ถูกเด็กม.1ยุให้รุมทุบตีทำร้ายร่างกายเด็กอนุบาล วัยเพียง 5 ขวบ จนกระทั่งมีอาการ เลือดตก ติดเชื้อในกระแสเลือด และลิ้นหัวใจ มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบบริเวณแขนและรักแร้ด้านซ้าย อาการสาหัส จนต้องเข้าห้องไอซียูรักษาที่ร.พ.จุฬาฯด่วน และยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในโรงพยาบาลอย่างน้อย 6 สัปดาห์
สร้างความหดหู่ใจแก่ผู้ที่ทราบข่าว พร้อมกับตั้งกับถามขึ้นว่า เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย ความอันธพาลรุนแรงเกิดขึ้นไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กเล็ก ที่กระทำกันได้รุนแรงถึงเพียงนี้ ความจริงที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการทำร้ายร่างกาย หรือโรคประจำตัวที่เกิดขึ้นอยู่แล้วหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ทั้งสองฝ่ายได้รับผลกระทบโดยตรง เด็กอนุบาลร่างกายสาหัส เฝ้ารอดูอาการ ขณะที่เด็กป.1 ก็ได้รับผลกระทบทางจิตใจ มีอาการซึมเศร้าเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน การสอบปากคำเด็กป.1 จึงต้องใช้เวลาชักระยะหนึ่ง
“ตนไม่เชื่อว่าจะเกิดจากการกระทำของลูกชายตน ความจริงเป็นแค่เด็กกอดคอกันแล้วฟัดกันจนล้มทั้งคู่ เมื่อคราวเกิดเหตุก็ตกลงเรื่องเงินไปแล้วบางส่วน แต่ที่ผู้เสียหายเรียกร้องมากเกินไป จนให้ไม่ได้ เพราะลูกตนไม่ได้ทำรุนแรงขนาดนั้น” ผู้ปกครองของเด็กป.1 กล่าว
อย่างไรก็ตาม ความเสียหายด้านคดีแพ่ง ทั้งสองฝ่ายจะต้องตกลงเจรจากันเบื้องต้น ขณะเดียวกันในด้าน พ.ร.บ.กฎหมายอาญาไม่สามารถลงโทษเด็กที่อายุไม่ถึง 10 ปีบริบูรณ์ได้ มีบัญญัติชัดเจนว่า เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ คุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมาย แต่เด็กคนดังกล่าว ก็มีประวัติการกระทำผิดทางอาญา ซึ่งส่งผลต่ออนาคตของเด็ก
ภาพประกอบ ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว
มีการกล่าวถึงข้อกฎหมายในกรณีนี้กันอย่างแพร่หลาย ในเว็บไซต์ต่างๆ มีผู้แสดงความคิดเห็นว่า เป็นการปกป้องความผิดของเด็ก ที่หากที่ฆ่าใครตาย เด็กคนนั้นจะไม่มีความผิดแต่อย่างใด อย่างนั้นหรือไม่ ?
เหล่านี้เป็นการสร้างบรรทัดฐานการใช้ความรุนแรงของเด็กที่ไม่มีความผิด หรือเอาโทษใดๆ ทั้งสิ้น หากถึงแก่ชีวิตแล้วใครจะรับผิดชอบกับเรื่องนี้ เพราะความรุนแรงอาจเกิดขึ้นในโรงเรียน ที่บ้าน สังคมใกล้บ้าน
เมื่อมองย้อนถึงสังคม ก็สะท้อนได้เป็นอย่างดีว่า การกระทำที่รุนแรงนั้น พฤติกรรมของผู้ใหญ่ก็มีส่วนในการเลียนแบบความประพฤติ ซึ่งทางผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง พยายามชี้ให้เห็นว่า การใช้ความรุนแรงเป็นเรื่องที่เลวร้าย ไม่ว่าจะเด็กทำร้ายเด็ก หรือผู้ใหญ่ทำร้ายเด็ก เหล่านี้ ส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ
รวมไปถึงการกำหนดบทลงโทษ ตามช่วงวัยก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกัน ยับยั้งไม่ให้กระทำรุนแรงขึ้น ที่สำคัญ สถาบันครอบครัว ปัจจุบันเด็กอยู่กับครอบครัวน้อยลง อีกทั้งบางครอบครัวกลับมีปัญหา ใช้ความรุนแรงเสียเอง ฉะนั้น ต้องสั่งสอน เอาใจใส่ บ่มนิสัย เพื่ออนาคตของเด็กไทยจะไม่กลายเป็นนักเลงวัยโจ๋อันธพาล …
MThai News
No comments:
Post a Comment